ทฤษฎีและแนวคิดจัดการศึกษาสำหรับเด็กวัยก่อนเรียน
เด็กก่อนวัยเรียน
หรือเด็กปฐมวัย เป็นวัยที่กำลังซุกซน เริ่มเรียนรู้
และทำความรู้จักสภาพแวดล้อมต่างๆ โดยเฉพาะการเรียนรู้จักผู้คน สิ่งของ สภาพแวดล้อม
ธรรมชาติ การสื่อสาร
การพัฒนาการเรียนรู้ทางด้านภาษาทำให้สามารถสื่อสารได้ด้วยการพูดได้มากขึ้น มีความเข้าใจการสดงออกต่างๆมากขึ้น
การที่เด็กได้เรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆทำให้เด็กแสดงพฤติกรรมที่อยากรู้อยากเห็น
ช่างซักถามซุกซนชอบสำรวจ ชอบปฏิเสธ ต้องการอิสระ เป็นตัวของตัวเองต่อต้านคำสั่งของผู้ใหญ่(โดยเฉพาะในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน)เริ่มเรียนรู้การทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น เรียนรู้เหตุผลสิ่งใดผิด สิ่งใดถูก และเรียนรู้วิธีแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง
นักการศึกษาและนักวิชาการได้ศึกษาเกี่ยวกันการพัฒนาการ
แนวคิดและแนวปฏิบัติในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กก่อนวัยเรียนไว้หลากหลายรูปแบบด้วยกันซึ่งใบที่นี้ได้รวบรวมไว้เพียงบางส่วน
และทุกทฤษฎีมุ่งเน้นที่จะพัฒนาการเรียนรู้สำหรับเด็กกลุ่มนี้
ตามหลักการต่างๆเพื่อให้เด็กในวัยนี้เกิดการเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพเพราะช่วงวัยนี้เป็นช่วงสำคัญของพัฒนาการในด้านต่างๆสำหรับเด็กในการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ต่อไป
ทฤษฎีการเรียนรู้ของบรูเนอร์
บรูเนอร์(Bourne,1973,อ้างใน ทิศนา แขมมณี,2544)
ได้จัดลำดับขั้นพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กโครงสร้างทางสติปัญญาเป็น3ขั้นดังนี้
1.
Enactive stage เด็กจะเรียนรู้และเข้าใจสิ่งแวดล้อมโดยผ่านการกระทำหรือการลงมือปฏิบัติ
เช่น การสัมผัส การเคลื่อนไหว เป็นต้น
การเรียนรู้ในขั้นนี้มีความสัมพันธ์โดยตรงกับความสามารถด้านการเคลื่อนไหวการเต้นรำ และการใช่ร่างกายในการแสดงออกซึ่งความรู้ของตน
2.
Iconic stage
จะเรียนรู้ผ่านการมองรูปภาพ หรือตัวแบบ
เด็กเริ่มวิธีการพัฒนาวิธีการจำโดยการใช้จินตนาการมากขึ้นความเข้าใจในสิ่งต่างๆรอบตัวของเด็กจะขึ้นอยู่กับการรับรู้โดยการใช่ประสาทสัมผัสมากกว่าการใช้ภาษา
เช่น เสียงดัง ความสว่าง เป็นต้นการเรียนรู้ในขั้นนี้มีความสัมพันธ์โดยตรงกับการเรียนหรือการแสดงออกผ่านรู้ซึ้งเป็นแรงผลักดันให้เกิดพฤติกรรมสำรวจสภาพสิ่งแวดล้อมและเกิดการเรียนรู้โดยการค้นพบแนวคิดพืนฐานของทฤษฏีการเรียนรู้นอกจากนี้บรูเนอร์ได้ให้หลักการเกี่ยวกับการสอนดังนี้
1.กระบวนการความคิดของเด็กแตกต่างกับผู้ใหญ่
เวลาเด็กทำผิดเกี่ยวกับความคิด ผู้ใหญ่ควรจะคิดถึงพัฒนาการทางเชาว์ปัญญา
ซึ้งเด็กแต่ละวัยมีลักษณะการคิดที่แตกต่างกันไปจากผู้ใหญ่ ครูหรือผู้มีความรับผิดชอบทางการศึกษาจะติองมีความเข้าใจว่าเด็กแต่ละวัยมีความรุ้อย่างไร
และกระบวนการรู้คิดของเด็กไม่เหมือนผู้ใหญ่(Intellectual Emphathy)
2.เน้นความสำคัญของผู้เรียน
ถือว่าผู้เรียนสามารถจะควบคุมกิจกรรมการเรียนรู้ของตนเองได้(Self-Reguilation)และเป็นผู้ที่จะริเริ่มหรือลงมือกระทำฉะนั้นผู้มีหน้าที่สอนและอบรมมีหน้าที่จัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ในการค้นพบโดยให้โอกาศผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
3.ในการสอนควรจะเริ่มจากประสบการณ์ที่ผู้เรียนคุ้นเคยหรือประสบการณ์ที่ใกล้ตัวเพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจ
เช่นการสอนให้นักเรียนรู้จักใช่แผนที่
ควรจะเริ่มจากแผนที่ของจังหวัดของผู้เรียนก่อนแผนที่จังหวัดอื่นหรือแผนที่ประเทศไทย